The Brooker Group PCL

News

ตลาดหมีพฤษภาสุดโหด กับ ความกลัวขั้นสุดในรอบปีนับตั้งแต่การระบาดไวรัสโคโรนาเดือนมีนาคม 2020

17/06/2022

บทความชิ้นนี้ไม่ใช่คำแนะนำในการลงทุน เป็นการศึกษาและรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องเท่านั้น

บทความนี้ผู้เขียน ได้ค้นคว้าเพื่อเขียนขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม ดังนั้นข้อมูลบางส่วนอาจจะมีความเปลี่ยนแปลงและคาดเคลื่อน ผู้อ่านโปรดศึกษาข้อมูลด้วยความระมัดระวังและใช้วิจารณญาณอย่างรอบครอบ 

Highlight

  • 17 พ.ค. 2022 และ 15 มิ.ย. ดัชนี Fear & Greed Index ระดับแตะลงมาต่ำที่สุดที่ 8 คะแนน เป็นระดับความกลัวขั้นสุดที่ต่ำที่สุดที่เกิดขึ้นในรอบ 2 ปี นับตั้งแต่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาเมื่อช่วงมีนาคม 2020 (อัพเดตวันที่ 14 มิ.ย. 65 คะแนนระดับ Extreme Fear ที่ 17 คะแนน)
  • จากสถิติที่ผ่านมาของดัชนีพบว่า ระดับความกลัวขั้นสุดที่ 8 หรือ ต่ำกว่านี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วทั้งหมด 3 ครั้ง โดยเกิดขึ้นเมื่อ ก.พ. 2018 (ช่วงราคา BTC ลดลงที่ $6,000) ช่วงเดือนสิงหาคม 2019 (ราคา BTC ลดลงที่ $9,320) และ ช่วงมีนาคม 2020 (ราคา BTC ลดลงที่ $3,782) 
  • จากการสำรวจนักลงทุนในสมาคมนักลงทุนรายย่อยแห่งสหรัฐอเมริกา (AAII) พบว่า สถานการณ์เงินเฟ้อสูงที่สุดในรอบ 40 ปีในทั่วโลก จำนวน 49% คิดว่าตลาดการลงทุนจะหดตัวยาวนานไปอีก 6 เดือน
  • หลังจากที่ Fed ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.50% เป็นการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 2 ในปี 2022 และ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน  ผู้จัดการกองทุนเผยข้อมูลปัจจุบันมีการจัดเก็บกระแสเงินในระดับสูงสุดนับตั้งแต่เหตุการณ์ 11 ก.ย. 

Fear & Greed Index โดย CNN Business แสดงข้อมูลในช่วงเดือน พ.ค. ในระดับ กลัวขั้นสุด (Extreme Fear) เมื่อดูตามสถิติในรอบ 45 วัน ตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมาพบว่า ค่า Crypto Fear and Greed Index (CFGI) ยังคงแตะที่ระดับ 22 คะแนน แต่ในขณะเดียวกัน 17 พ.ค. ระดับแตะลงมาต่ำที่สุดที่ 8 คะแนน เป็นระดับความกลัวขั้นสุดที่ต่ำที่สุดที่เกิดขึ้นในรอบ 2 ปี นับตั้งแต่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาเมื่อช่วงมีนาคม 2020 โดยดัชนีดังกล่าวสะท้อนหลายปัจจัย ทั้งจากความผันผวนของราคาบิตคอยน์ กระแสการลงทุน ปริมาณการซื้อขายในตลาด กระแสความตื่นตัวในโซเชียลมีเดีย หรือ มูลค่าตลาดสินทรัพย์ 

Fear & Greed Index ระดับ 8 (วันที่ 17 พ.ค. 2022)

Fear & Greed Index ระดับ 8 (วันที่ 15 มิ.ย. 2022)

** หมายเหตุ Fear & Greed Index คือ เครื่องมือวัดค่าความกลัวและความโลภ ที่ชี้ให้เห็นถึงระดับความกลัว และความโลภ ที่จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นในตลาดและพฤติกรรมการลงของนักลงทุน อ่านเพิ่มเติม https://www.facebook.com/BrookDigitalAsset/posts/293994936180435 

ปัจจัยนำไปสู่ความกลัวและเหตุการณ์ต่างๆ ในฤดูหมีจำศีล

จากการสำรวจนักลงทุนในสมาคมนักลงทุนรายย่อยแห่งสหรัฐอเมริกา (AAII) จำนวน 49% คิดว่าตลาดการลงทุนจะหดตัวยาวนานไปอีก 6 เดือน และอีก 31% คิดว่าเป็นสภาวะของตลาดโดยปกติ นอกจากนี้การสำรวจในกลุ่มผู้จัดการกองทุน Bank of America มองว่าจะเป็นช่วง ตลาดหมีเดือนพฤษภาที่รุนแรง 

โดยสัญญาณเตือนที่เกิดขึ้นนั้นมาจากทั้ง สถานการณ์เงินเฟ้อสูงที่สุดในรอบ 40 ปีในทั่วโลก ที่ Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.50% นับเป็นการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 2 ในปี 2022 และ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน  ผู้จัดการกองทุนเผยข้อมูลปัจจุบันมีการจัดเก็บกระแสเงินในระดับสูงสุดนับตั้งแต่เหตุการณ์ 11 ก.ย. 

จุดเปลี่ยนของบิตคอยน์และคริปโทเคอร์เรนซีต่าง ๆ ในเดือน พ.ค. คือ การประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่ทำให้เกิดการเทขายเพื่อทำกำไรในบิตคอยน์อย่างกว้างขวาง จนเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ราคาคริปโทเคอร์เรนซีลดต่ำลงไปพร้อมกับหุ้นเทคโนโลยี 

ประกอบกับวิกฤตเหรียญ UST และ LUNA ที่ทำให้เงิน UST ร่วงลงมาต่ำกว่าค่า Peg ที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐ และสั่นคลอนเหรียญ LUNA ตามมา จากรายงานของ Bank of America รายงานว่าเหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความกลัวให้กับนักลงทุนคริปโตเป็นอย่างมาก เทียบได้กับการระเบิดของฟองสบู่ในตลาดเทคโนโลยีและวิกฤตการเงินโลกเมื่อปี 2008 

ในอีกด้านหนึ่ง ก็ยังมีนักลงทุนที่มองเหตุการณ์นี้เป็นโอกาสในการลงทุนใช้กลยุทธ์ทำกำไรช่วงตลาดขาลง ตามรายงานของ CoinShares พบว่า แม้ว่าราคาจะลดต่ำลงแต่ระดับการซื้อขายในช่วงสัปดาห์ยังคงมีมากถึง 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (อัพเดตเมื่อวันที่ 6 พ.ค.) 

Fear & Greed Index ต่ำที่สุดในรอบ 2 ปีนับตั้งแต่การระบาดไวรัสโคโรนามีนาคม 2020

จาก Alternative.me (ใส่ hyper link https://alternative.me/crypto/fear-and-greed-index/ )  แสดงดัชนี Fear & Greed Index ที่ระดับ 8 จากระดับทั้งหมด 0-100 จากสถิติที่ผ่านมาของดัชนีพบว่า ระดับความกลัวขั้นสุดที่ 8 หรือ ต่ำกว่านี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วก่อนหน้านี้ทั้งหมด 3 ครั้ง (จากภาพด้านล่างในวงกลมสีแดง) โดยเกิดขึ้นเมื่อก.พ. 2018 (ช่วงราคา BTC ลดลงที่ $6,000) ช่วงเดือนสิงหาคม 2019 (ราคา BTC ลดลงที่ $9,320) และ ช่วงมีนาคม 2020 (ราคา BTC ลดลงที่ $3,782)  

ซึ่งจะเห็นได้ว่าตลาดหมีก่อนหน้านี้ ราคาบิตคอยน์ได้ลดลงมาต่ำลงมาที่ $3156 ในเดือนธันวาคม 2018 ที่ทำให้ดัชนีความกลัวอยู่ที่ระดับ ซึ่งเมื่อวันที่ 17 พ.ค. อยู่ที่ระดับ 8 หรือเรียกได้ว่าเป็นเหตุการณ์ความกลัวขั้นสุดเป็นครั้งที่ 4 นับตั้งแต่ที่ Fear & Greed Index ถือกำเนิดขึ้น 

จากการศึกษาผ่าน Fear & Greed Index พบว่าความกลัวที่เกิดขึ้นมักเกิดเมื่อราคา BTC ลดลง แต่อย่างไรก็ตามแม้จะมีลักษณะการเกิดเช่นนี้ แต่ก็ยังไม่แน่ชัดว่าราคาของ BTC จะลดลงต่ำไปอีกหรือไม่  โดยนักวิเคราะห์คริปโตอย่าง @Pladizow (https://twitter.com/Pladizow) ได้ อธิบายเอาไว้ถึราคาบิตคอยน์ที่ลดลงจนทำให้เกิดความกลัว (ตามภาพด้านล่าง) พบว่ามีเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดคะแนนในระดับต่ำมากทั้งหมดในประวัติศาสตร์ ทั้งหมด 4 ครั้ง (เหตุการณ์ในเดือนมีนาคม 2020 เกิดขึ้นในแผนภาพทั้งหมด 2 ครั้ง) ผู้ที่ศึกษายังระบุเพิ่มอีกว่า ในดัชนีที่บ่งชีถึงความกลัวขั้นสุดในสองครั้งแรกแสดงถึงราคาบิตคอยน์ได้ลงลดอีกอย่างมากทั้งสองครั้งก่อนกลับตัว 

อีกภาพหนึ่งจาก LookIntoBitcoin.com แสดงดัชนีความกลัว โดยสีที่ปรากฏในแผนภูมิแสดงราคาบิตคอยน์ที่สร้างความกลัวในระดับต่างๆ ของแต่ละช่วงเวลา และจะเห็นได้อีกคือ บริเวณสีแดงเข้มแสดงถึงช่วงเวลาที่ราคาบิตคอยน์ที่ลดลงมาต่ำ แต่อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าในช่วงถัดไปหลังจากดัชนีความกลัวหมดไปดัชนีแสดงถึงความโลภที่เป็นสีเขียวค่อยๆ เพิ่มขึ้น เป็นช่วงที่ราคาของบิตคอยน์กำลังปรับตัวสูงขึ้น อย่างเช่น ในช่วงเดือนเมษายน 2021 และพฤศจิกายน 2021 หลังจากการคลี่คลายของดัชนีความกลัวสุดขั้วคลี่คลายไปประมาณ 2 สัปดาห์ ถึง หนึ่งเดือน ราคาบิตคอยน์ปรับตัวสูงขึ้น

จากที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น การอ่านค่า Fear and Greed Index ในช่วงนี้ระบุถึงความกลัวขั้นสุดที่คะแนนในระดับต่ำมากนั้น อาจจะไม่ได้เป็นสัญญาณของตลาดที่แน้วโน้มต่ำสุด ดังนั้นการตีความดัชนีความกลัวสูงสุดในตลาดว่าเป็นสัญญาณการซื้อขายในช่วงระยะสั้นนั้นอาจจะเป็นกลยุทธ์ที่มีข้อบกพร่องได้ เนื่องจาก Fear and Greed Index เป็นเพียงการชี้ให้เห็นถึงระดับความกลัว และความโลภ ที่จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นในตลาดและพฤติกรรมการลงของนักลงทุนเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกในเชิงลบที่เกิดขึ้นนั้นเป็นจุดที่นักลงทุนควรให้ความสนใจมากขึ้นในตลาดที่คิดว่ามีความเสี่ยงหรือกระแสลบ และ อดทนมองหาโอกาสที่เข้าลงทุนที่ตรงกับความเป็นจริง

ช่องทางติดตาม Brook Digital Asset